Marie - The Aristocats 3

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 3 / วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

  • อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาเขียนชื่อตนเองและนำไปแปะหน้าห้องเรียน จากกิจกรรมนี้เด็กสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันได้  เช่น จากจำนวนเด็กทั้งหมด 21 คน  มาเรียน 18 คน จะเหลือเด็กที่ไม่มาเรียนอยู่ 3 คน เด็กจะได้เรียนรู้การลบการบวกเพิ่มจำนวน ในทุกๆวัน  จำนวนของเด็กในการมาและไม่มาโรงเรียนจะมีโอกาสเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ จึงทำให้เด็กได้เรียนรู้ว่าจากจำนวนเด็กทั้งหมด 21 คนนั้นสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้โดยจะแบ่งในจำนวนที่เท่ากันหรือจำนวนที่ไม่เท่ากันก็ได้
  • เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะในการนับ , นับและบอกจำนวนได้ , เขียนตัวเลขฮินดูอารบิกได้ , การบวกลบ , การเปรียบเทียบ
  • จากกิจกรรมข้างต้นใช้วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ในชีวิตประจำวันไม่ใช่การตั้งใจที่จะสอนการบวกการลบเลขโดยตรง วิธีการสอนข้างต้นจะทำให้เด็กเกิดประสบการณ์และเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ดีกว่าการตั้งใจสอนโดยตรง



  • กิจกรรมต่อมาเป็นการนำเสนองานตามหัวข้อที่ตนเองได้รับมอบหมายไว้
  1.  เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  2.  เลขที่ 2 นำเสนอวีดีโอตัวอย่างการสอน เรื่อง เจ้าแกะจอมฉลาด
  3.  เลขที่ 4 นำเสนอบทความเรื่อง เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
  • เข้าสู่บทเรียน ความคิดเชิงคณิตศาสตร์ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา



  • ร้องเพลงคณิตศาสตร์ ดังนี้ 





ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการวางแผน
  • ทักษะการคิด                     
  • ทักษะการวิเคราะห์
  • ทักษะการนับ
  • ทักษะการบอกจำนวน
                        
การนำมาประยุกต์ใช้
  • สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน 
  • สามารถนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
  • สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมต่างๆได้
  • สามารถนำไปใช้ในการนับจำนวนการมาและไม่มาโรงเรียนของเด็ก


บรรยากาศในห้องเรียน
  • การสอนของอาจารย์จะเน้นกระบวนการคิดและการวิเคราะห์พร้อมให้นักศึกษาตอบคำถามและมีการตั้งคำถามปลายเปิด สามารถให้นักศึกษาตอบคำถามของอาจารย์ได้หลายคน ทำให้มีการคิดที่แตกต่างกันออกไปและคำตอบของแต่ละคนจะไม่มีผิดหรือถูกอาจารย์จะคอยเพิ่มเสริมให้อยู่ตลอดเวลา


ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                       
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน 
                        

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 2 / วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.


ขาดเรียน เนื่องจากไปธุระต่างจังหวัด

สรุปแนวการสอน
หัวข้อ : ผลไม้แสนสนุก
        
          มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่น่าสนใจ กิจกรรมที่นำเสนอ มี 3 กิจกรรม คือ
  1. กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ โดยให้เด็กท่องคำคล้องจองเกี่ยวกับผลไม้ตามครู แล้วเคลื่อนไหวอิสระตามถนัดของนักเรียน
  2. กิจกรรมพานักเรียนไปเรียนรู้จากสถานที่จริง ( ทัศนศึกษาที่ตลาด ) ได้พบแม่ค้า ฝึกการพูด ซักถาม สอบถามราคา ขอบคุณ ซึ่งมีการสร้างข้อตกลงการปฏิบัติตนก่อนไปสถานที่จริง เช่น ไม่วิ่งเล่น ไม่ส่งเสียงดัง
  3. กิจกรรมสร้างสรรค์ ปั้นผลไม้ด้วยดินน้ำมันและวาดรูปผลไม้ตัดกระดาษปะ ระบายสี
           ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนที่น่าสนใจ เพราะเด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสถานที่จริง เห็นของจริง ทำให้เกิดความตื่นเต้น กระตือรือร้น เร้าใจ ในการเรียน มีความสุข สนุกสนาน ได้รับความรู้ ได้เรียนรู้จากการสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้ประสาทสัมผัส มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น รู้จักการแก้ปัญหา ทั้งยังมีการบรูณาการกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสร้าง ทำให้เด็กได้รับพัฒนาการครบทุกด้าน

 สรุปบทความ 
สอนคณิตอย่างไรให้สนุกสำหรับเด็กปฐมวัย
            จากบทความกล่าวไว้ว่า วิธีการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน ควรจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้สื่อทั้งที่เป็นรูปภาพของจริง ของจำลองที่หลากหลาย อาจใช้สื่อในห้องเรียนที่มีอยู่ตามมุมประสบการณ์ และจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดในเรื่องของการจำแนก การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การนับจำนวน รูปร่าง รูปทรง ใช้วิธีจัดกิจกรรมกลุ่ม เด็กได้เรียนรู้ร่วมกันและรู้จักสังเกต ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่นเรื่องไม้ดอกไม้ประดับ เด็กได้เรียนรู้การจำแนกสิ่งต่างๆ สังเกตสีของดอกไม้ จำแนกดอกไม้ตามชนิด กลิ่นของดอกไม้ เปรียบเทียบจำนวนดอกไม้ อีกทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้นำเสนอผลงานของกลุ่ม โดยวิธีการวาดภาพหรือเล่าเรื่อง โดยครูให้การเสริมแรง ให้กำลังใจเด็กในการปฏิบัติกิจกรรม ทำให้เด็กมีกำลังใจมากยิ่งขึ้น

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปวิจัย 
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม
การวิจัย เรื่อง : ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม
ชื่อผู้เขียน : จงรัก  อ่วมมีเพียร
มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง เป็นเด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี เรียนอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยใช้แบบทดสอบเชิงปฏิบัติ แล้วเลือกนักเรียนกลุ่มคะแนนต่ำ มาเพื่อรับการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสมเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม และแบบทดสอบเชิงปฏิบัติ
การจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม เป็นกิจกรรมศิลปะที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองใช้วัสดุต่างๆคือ วัสดุที่ทำขึ้นเอง เช่น สีจากดอกอัญชัน ใบเตย ไพล
วัสดุราคาถูก เช่น กระดาษว่าว กระดุม สีเทียน สีผสมอาหาร
วัสดุเหลือใช้ เช่น ฝาน้ำอัดลม หลอดกาแฟ เศษไหมพรม เศษผ้า
วัสดุท้องถิ่น เช่น เปลือกหอย ทรายทะเล ใบทุเรียน ใบมังคุด
                โดยผสมผสานกับอุปกรณ์และวิธีการทางศิลปะที่หลากหลาย เช่น การวาดภาพระบายสี การพิมพ์ภาพ การพับ การฉีก ปะ ตามความคิดและจินตนาการของเด็กแต่ละคนมีวิธีดำเนินการโดย เด็กสามารถเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์หลากหลาย วิธีการต่างๆ ทางศิลปะ ได้ตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป เพื่อสร้างสรรค์และผสมผสานเป็นผลงานชิ้นเดียวกัน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติกับวัสดุ อุปกรณ์ วิธีการทางศิลปะที่หลากหลายและคุ้นเคย จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ วิธีการต่างๆทางศิลปะ และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะสำคัญที่ช่วยให้เด็กรู้จักการสังเกต การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ การนับ การแก้ปัญหา และการคิดคำนวณจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา และเป็นพื้นฐานที่เอื้อต่อการเตรียมความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์ในระดับสูงขึ้น
                จากจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในเด็กปฐมวัย ได้มุ่งเน้นฝึกทักษะการจำแนกเปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ และรู้ค่าจำนวน อีกทั้งส่งเสริมการพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อเล็กและประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ส่งเสริมการสนทนา การเล่าเรื่องราว และความคิดสร้างสรรค์ และการฝึกการเก็บวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ให้เข้าที่ จากการจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมศิลปะสื่อผสม มีการเปิดโอกาสให้เด็กได้สนทนา เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการใช้วัสดุ อุปกรณ์ เด็กได้นำเสนอผลงาน เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงาน ขึ้นตอนการทำกิจกรรม และการใช้วัสดุ อุปกรณ์
                มีการจัดกิจกรรมตามแผน การจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม ดำเนินตามขั้นตอนคือ ขั้นนำ ขั้นดำเนินกิจกรรม และขั้นสรุป โดยใช้สื่ออุปกรณ์ มีการประเมินผลที่หลากหลายและใช้แบบทดสอบเชิงปฏิบัติ ทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ซึ่งมีทั้งหมด 4 ชุด การจำแนกเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ และการรู้ค่าจำนวน โดยดำเนินการทดสอบแต่ละวันตามลำดับ ในแต่ละสถานการณ์ เด็กจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
                หลังจากใช้เครื่องมือในการวิจัยแล้ว พบว่า ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังจากจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสมโดยรวมและจำแนก อยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบก่อนการทดลองพบว่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01



วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 1 / วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
       วันนี้เป็นชั่วโมงแรกในการเรียนการสอนของวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์แจกกระดาษให้กับนักศึกษาพร้อมกำหนดหัวข้อว่า กระดาษ 1 แผ่น แบ่งให้เป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน และให้นักศึกษาเขียนจุดเด่นของตนเองลงในกระดาษแล้วส่งให้อาจารย์อ่านแล้วทายว่าคนไหน พร้อมทั้งบอกชื่อและจังหวัดที่เกิดของตนเอง และอาจารย์ถามนักศึกษาว่ามีวิธีการแบ่งกระดาษให้เพื่อนๆอย่างไร ท้ายคาบอาจารย์แนะนำเกี่ยวกับการทำบล็อคส่งในรายวิชานี้ และปล่อยให้นักศึกษาทำบล็อคส่ง

วิธีการสอน
- สอนด้วยประเด็นปัญหา
- สอนด้วยการให้นักศึกษามีส่วนร่วม

ทักษะ
- ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์
- ฝึกทักษะการฟังและการพูด

การนำไปประยุกต์ใช้

- สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้ 

บรรยากาศในห้องเรียน
- บรรยากาศภายในห้องเรียนสนุกสนาน ไม่กดดัน

คุณธรรม จริยธรรม
- ตรงต่อเวลา
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง

การประเมิน
ตนเอง ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน ร่วมทำกิจกรรม 
เพื่อน  มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม
ครูผู้สอน แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน