Marie - The Aristocats 3

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 10 / วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.
เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ
เพื่อนนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1. นางสาววิจิตรา เสริมกลิ่น
สรุปบทความเสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล
             จากเนื้อหาของบทความได้กล่าวว่าการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็ก มักถูกคาดหวังสูง โดยถูกมุ่งหวังให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง แต่ไม่มีใครสนใจเรื่องกระบวนการคิดของเด็กว่าเขาคิดอย่างไร ทำไมถึงตอบเช่นนี้ ซึ่งหากพัฒนาเรื่องกระบวนการคิดของเด็ก จะเป็นการช่วยส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ของลูกได้เป็นอย่างดี
กระบวนการคิด+คณิตวัยอนุบาล
          อย่างเเรกคุณพ่อคุณแม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการของเด็กๆ ว่าบางครั้งเด็กๆ ต้องการการเรียนรู้แบบตอกย้ำซ้ำทวน ต้องฝึกฝนทำบ่อยๆ นี่คือทักษะ ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์ถือเป็นทักษะการเรียนรู้ที่ต้องทำซ้ำๆ บ่อยๆ ไม่ใช่เพียงเเค่หาคำตอบที่ถูกที่สุด แต่อันที่จริงแล้วสิ่งสำคัญนั้นอยู่ที่กระบวนการคิดที่ได้มาของคำตอบต่างหาก ที่สะท้อนว่าเด็กๆ มีวิธีคิดอย่างไร
เข้าใจ Mathematical Skill เด็กวัยอนุบาล
   - เข้าใจด้วยระบบสัญลักษณ์ เด็กวัยนี้จะนับเลข 1- 5 ได้ แต่ถามว่ามีค่าเท่าไรเด็กจะยังไม่เข้าใจพ่อคุณแม่ต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจแก่เขา โดยการใช้ระบบสัญลักษณ์ (ภาพหรือสิ่งของที่จับต้องได้) แทนตัวเลข
   - เด็กวัยอนุบาลจะทำกิจกรรมโดยใช้ประสาทสัมผัสตากับมือเป็นหลัก จะตัดสินจากสิ่งที่มองเห็น
   - ทักษะทางภาษายังต้องสั่งสม ทักษะทางภาษาเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งสำหรับเด็กวัยอนุบาลยังต้องได้รับการกระตุ้นเรื่องการสื่อสาร เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาที่ดีขึ้น อันจะส่งผลให้เขาสามารถตั้งคำถามและอธิบายเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนได้ เช่น มีของอยู่ 3 ชิ้น คุณแม่ให้เพิ่มอีก 2 ชิ้น หากเขามีทักษะทางภาษาที่ดีเขาจะต้องเข้าใจคำว่า “เพิ่ม” คืออะไร และจะนำมาซึ่งกระบวนการคิดและตอบคำถามอย่างถูกต้อง 
 2. นางสาวศิริพร พันโญศรัณยา
ตัวอย่างการสอน  
ครูสอนการนับจำนวนที่ชั้นอนุบาล1/1
เทคนิคการสอน

ตอนแรกใช้การร้องเพลงและท่าประกอบตามเพลง 
อุปกรณ์ที่ใช่และวิธีการสอน
       ในการสอน แพงใส่ไข่ที่ใช่แล้ว ลูกปิงปอง ตะกร้า วาดภาพไก่ติดไว้ที่ตะกร้าแล้วเขียนตัวเลขที่ตัวไก่ที่เราวาดไว้เริ่มจาก 1-ไปเรื่อยๆการสอนให้เด็กออกมาเปิดไก่ที่เราวาดติดไว้ว่าเป็นตัวเลขอ่ะไรให้เด็ก
ยิบลูกปิงปองใส่ลงในแพงไข่ให้ถูกตามที่เราเปิดตัวเลขที่แม่ไก่ให้เด็กๆออกมาที่ล่ะคน
3. นางสาวจีรวรรณ งามขำ

สรุปวิจัย เรื่อง การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อสรางหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพรอมทางคณิตศาสตร เรื่องการรูคาของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัย ศึกษาผลการเตรียมความพรอมทางคณิตศาสตรเรื่องการรูคาของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัย หลังการใชหนังสือภาพและศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีตอหนังสือภาพ 
แผนการจัดประสบการณเพื่อเตรียมความพรอมทางคณิตศาสตร 

เรื่องการรูคาของตัวเลข 0 – 9 จํานวน 12 แผนแบบทดสอบความพรอมทางคณิตศาสตร              

เด็กปฐมวัยหลังใชหนังสือภาพ จํานวน 10 ชุด และแบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่
มีตอหนังสือภาพจํานวน 1 ชุดวิเคราะหขอมูลโดยการหาคาเฉลี่ยรอยละของคะแนนความพรอม
ทางคณิตศาสตรแลวเปรียบเทียบกับเกณฑที่ตั้งไวของโรงเรียนรอยละ 60.00 และนําเสนอขอมูล
โดยใชตารางประกอบคําบรรยาย สวนความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีตอหนังสือภาพวิเคราะหขอมูล
โดยการหาคาเฉลี่ย(และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)และนําเสนอขอมูลโดยใชตารางประกอบคําบรรยาย                                                     

                 

        
กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดเกี่ยวกับวิธีการสอนในหน่วยที่ตัวเองได้รับมอบหมาย โดยอาจารย์คอยแนะนำและอธิบายให้ฟัง 
อาจารย์ให้นักศึกษานั่งกันเป็นกลุ่มนั่งเรียงตามวันที่แต่ละคนไปร่างแผนมา และอาจารย์ถามแต่ละกลุ่มว่าวันจันทร์ หัวข้ออะไรและจัดกิจกรรมอะไร กลุ่มของดิฉันคือหน่วยบ้าน
1.ประเภท 
2.ลักษณะ 
3.การดูแลรักษา
4.ประโยชน์
5.ข้อควรระวัง 
        
ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการแก้ปัญหา
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการสังเกต
การนำมาประยุกต์ใช้
  • สามารถนำวิธีการสอนนี้ไปใช้ในอนาคตได้
บรรยากาศในห้องเรียน
  • โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี

การจัดการเรียนการสอน
  • มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้ลงมือทำจริง ได้คิด วิเคราะห์ และรู้จักการลองผิดลองถูก การแก้ปัญหาด้วยตนเอง

ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 9 / วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.
เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ
  • อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาทำ Mind Mapping เป็นกลุ่มโดยให้นักศึกษาคิดหัวข้อเรื่องที่สนใจมา1หัวข้อโดยอาจารย์ให้นักศึกษาระดมความคิดตามหัวข้อที่นักศึกษากำหนด
  • ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งหัวข้อย่อยของตนเองมา 1 หัวข้อ เพื่อคิดวิธีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบใดให้เชื่อมโยงกับวิชาคณิตศาสตร์
ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการแก้ปัญหา
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการสังเกต
การนำมาประยุกต์ใช้
  • สามารถนำวิธีการสอนนี้ไปใช้ในอนาคตได้
บรรยากาศในห้องเรียน
  • โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี

การจัดการเรียนการสอน
  • มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้ลงมือทำจริง ได้คิด วิเคราะห์ และรู้จักการลองผิดลองถูก การแก้ปัญหาด้วยตนเอง

ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 8วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2559
ศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์

การจัดสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์




กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์

  • การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ Project Approach
จัดประสบการณ์ตามความสนใจของเด็กเป็นการสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกตามหัวเรื่องที่เด็กสนใจส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและแหล่งเรียนรู้
  • กระบวนการ
           1.การอภิปรายกลุ่ม ในงานโครงการ  ครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก และช่วยให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การพบปะสนทนากันในกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่ทั้งชั้นทำให้เด็กมีโอกาสที่จะ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
          2.การศึกษานอกสถานที่สำหรับเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องเสียเงินเป็นจำนวนมาก เพื่อพาเด็กไปยังสถานที่ไกลๆ ประสบการณ์ในระยะแรกครูอาจพาไปทัศนศึกษานอกห้องเรียน เรียนรู้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน  เช่น ร้านค้า  ถนนหนทาง  ป้ายสัญญาณงานบริการต่างๆ ฯลฯ  จะช่วยให้เด็กเข้าโลกที่แวดล้อมมีโอกาสพบปะกับบุคคลที่มีความรู้เชี่ยวชาญในหัวเรื่องที่เด็กสนใจซึ่งถือเป็นประสบการณ์เรียนรู้ขั้นแรกของงานศึกษาค้นคว้า 
          3.การนำเสนอประสบการณ์เดิมเด็กสามารถที่จะทบทวนประสบการณ์เดิมในหัวเรื่องที่ตนสนใจ  มีการอภิปราย แสดงความคิดเห็นในประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกับเพื่อน  รวมทั้งแสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นในหัวข้อเรื่องนั้นๆ นอกจากนี้เด็กแต่ละคนสามารถที่จะเสนอประสบการณ์ที่ตนมีให้เพื่อนในชั้นได้รู้ด้วยวิธีการอันหลากหลายเสมือนเป็นการพัฒนาทักษะเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นการเขียนภาพ  การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์  การเล่น บทบาทสมมติ และการก่อสร้างแบบต่างๆ 
        4.การสืบค้นงานโครงการเปิดกว้างให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลอย่างหลากหลายตามหัวเรื่องที่ สนใจ เด็กสามารถสัมภาษณ์พ่อแม่ผู้ปกครองของตนเอง บุคคลในครอบครัว เพื่อนนอกโรงเรียน สามารถหาคำตอบของตนด้วยการศึกษานอกสถานที่สัมภาษณ์วิทยากรท้องถิ่นที่มีความรอบรู้ในหัวเรื่องอาจสำรวจวิเคราะห์วัตถุสิ่งของด้วยตนเอง  เขียนโครงร่าง หรือใช้แว่นขยายส่องวัตถุต่างๆ หรืออาจใช้หนังสือในชั้นเรียนหรือในห้องสมุดทำการค้นคว้า
           5. การจัดแสดง การจัดแสดงทำได้หลายรูปแบบ อาจใช้ฝาผนังหรือป้าย จัดแสดงงานของเด็กเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดความรู้ที่ได้รับจากการสืบค้นแก่เพื่อนในชั้นครูสามารถให้เด็กในชั้นได้รับทราบความก้าวหน้าในการสืบค้นโดยจัดให้มีการอภิปรายหรือการจัดแสดงทั้งจะเป็นโอกาสให้เด็กและครูได้เล่า เรื่องงานโครงการที่ทำแก่ผู้มาเยี่ยมเยียนโรงเรียนอีกด้วย
วิธีการจัดการเรียนการสอนมี 3 ระยะ
1. ระยะเริ่มต้น
2. ระยะดำเนินการ
3. สรุปโครงการ





  • จัดกิจกรรมตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 จำนวนละการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

การนำไปประยุกต์ใช้
  • จากการศึกษาดูงานทำให้เข้าใจหลักการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้สิ่งของต่างๆรอบๆตัวมาเป็นสื่อการเรียนรู้

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 7 / วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.
  • กิจกรรมแรก เพื่อนนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  1. นางสาวปฐมพร  จันวิมล นำเสนอบทความ คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยกับการเล่นรอบตัว
  2. นางสาวกษมา  แดงฤทธิ์ นำเสนอตัวอย่างการสอน สื่อการสอนเรื่องการบวก
  3. นางสาวนภัสสร  คล้ายพันธ์ นำเสนอวิจัย การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope)
  • กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน โดยให้แต่ละกลุ่มตัดกระดาษที่อาจารย์ให้มาตามขนาดที่อาจารย์กำหนดให้และแปะกระดาษสีขาวทับไป





 กลุ่มดิฉันตัดกระดาษได้ทั้งหมด 5 แผ่นในขนาดที่เท่าๆ กัน




 นี่คือ ผลงานของกลุ่มดิฉันเองค่ะ >.<
  • ความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรมนี้คือ : 
  1. ฝึกการวางแผนการตัดกระดาษว่าทำอย่างไร จะตัดกระดาษให้ประหยัดที่สุดเพื่อนำกระดาษที่เหลือไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้อีก
  2. ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้เกิดความสามัคคีกันภายในกลุ่ม
  3. ฝึกการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
  4. ฝึกการวางแผนว่าจะตัดกระดาษอย่างไรให้ประหยัดที่สุด

  •  อาจารย์สอนการจัดประสบการณ์ให้เด็ก โดยการให้เด็กฝึกคิดเลขจากสิ่งของที่อยู่รอบๆ ตัว เช่น คิดเลขจากรังใส่ไข่ , การปั้นดินน้ำมันเป็นตัวเลข , การเขียนตัวเลขกลางอากาศ เป็นต้น เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสามารถนำความรู้ที่มีไปต่อยอดในอนาคตได้
ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการแก้ปัญหา
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะรูปทรง
การนำมาประยุกต์ใช้
  • สามารถนำวิธีการสอนนี้ไปใช้ในอนาคตได้
บรรยากาศในห้องเรียน
  • โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี

การจัดการเรียนการสอน
  • มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้ลงมือทำจริง ได้คิด วิเคราะห์ และรู้จักการลองผิดลองถูก การแก้ปัญหาด้วยตนเอง

ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน