สรุปใบความรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ดังนี้
แฟ้มสะสมผลงานรายวิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
การบันทึกครั้งที่ 6 / วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.
- การจัดประสบการณ์ การเรียนการสอนโดยการแก้ปัญหา โดยครูตั้งปัญหาให้เด็กได้ทดลองลงมือทำ แก้ปัญหา และสร้างผลงานด้วยตนเอง โดยมีโครงสร้างดังนี้ วิเคราะห์แนวคิด ศึกษาวัสดุที่มีอยู่ ลงมือทำ นำเสนอ
ตัวอย่างกิจกรรม
- จัดกิจกรรมเกี่ยวกับรูปทรง ให้เด็กคุ้นเคยกับรูปทรงต่างๆผ่านการเล่นบล็อก เกมส์การศึกษา หรือสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
- ครูทำรูปแบบที่ให้เด็กเห็นภาพจริง เช่น การตัดไม้มาต่อเป็นรูปร่างแล้วเอาดินน้ำมันเป็นฐานยึด
- เด็กยังไม่เห็นด้านของรูปทรงนั้นๆ วิธีการเรียนรู้ คือ ครูให้เด็กตัดกระดาษมาแปะ ตามด้านของรูปทรงนั้นๆ เพื่อให้เด็กเห็นภาพชัดขึ้น เกิดทักษะต่างๆ คือ
- E (engineering) = โครงส้ราง
- S (Science) = ดินน้ำมัน ไม้
- T (technology) = การนำเสนอ
- M (mathematics) = จำนวนนับไม้ จำนวนมุม ความสั้น ยาว การวัด รูปทรง
ภาพกิจกรรมต่าง ๆ >.<
รูปสามเหลี่ยม
รูปทรงสามเหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยม
รูปทรงสี่เหลี่ยม
เพื่อนๆ นำเสนอหน้าชั้นเรียน
- การจัดประสบการณ์คณิตศาตร์บรูณาการศิลปะสร้างสรรค์
-ให้เด็กวาดภาพตามจินตนาการ แล้วนำมาบรูณาการคณิตศาสตร์ ได้ 2 แบบ คือ
1. ถามเด็กโดยตั้งจำนวนก่อน เช่น ในภาพของเด็กๆ มีอะไรบ้างที่มี 3 จำนวน
2. ให้เด็กนับจำนวนจากสิ่งที่เด็กวาดว่ามีจำนวนเท่าไหร่
ครูอนุบาลต้องดึงสิ่งที่เด็กมีออกมาและจัดประสบการณ์ การจัดประสบการณ์นั้นต้องสอดคล้องกับชีวิตประจำวันเพราะ
ประสบการณ์เดิม >> สู่ประสบการณ์ใหม่ >> สู่การปรับโครงสร้าง >> การรับรู้ >> เกิดการเรียนรู้ >> เพื่อเอาตัวรอด
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการสังเกต
- ทักษะรูปทรง
- ทักษะการตอบคำถาม
การนำมาประยุกต์ใช้
- วิธีการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กนั้นเราต้องดึงสิ่งที่เด็กมีออกมา แล้วนำมาจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็กให้เด็กสามารถดึงทุกอย่างมาบูรณาการในคณิตศาสตร์ได้
บรรยากาศในห้องเรียน
- โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
การจัดการเรียนการสอน
- มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้ลงมือทำจริง ได้คิด วิเคราะห์ และรู้จักการลองผิดลองถูก การแก้ปัญหา
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อน
- มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์
- แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน
วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
การบันทึกครั้งที่ 5 / วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.
กิจกรรมแรก อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้นักศึกษาวาดตารางที่อาจารย์กำหนดมาให้ จากนั้นอาจารย์ให้แรเงาช่องที่เป็น 2 แถว โดยให้โจทย์ว่า ให้แรเงา 2 ช่องติดกัน รูปแบบไหนก็ได้ให้ได้มากที่สุด โจทย์ต่อมาคือ ให้แรเงาช่องที่มี 3 แถว โดยแรเงา 3 ช่องติดกัน รูปแบบไหนก็ได้ให้ได้มากที่สุด
กิจกรรมที่สอง เพื่อน ๆ นำเสนอหน้าชั้นเรียน
กิจกรรมที่สาม อาจารย์ให้ดูวิดีโอ >.<
การจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach
ความรู้ที่ได้รับ
- ก่อนจะจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ใดๆ ให้แก่เด็ก ครูจะต้องประเมินพัฒนาการว่าเด็กมีความสามารถ มีศักยภาพมากน้อยเพียงใด และศึกษาทำความเข้าใจวิธีการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน เพื่อจะได้สามารถจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านไปพร้อมๆ กัน และทำให้กิจกรรมนั้น บรรลุวัตถุประสงค์ได
- จากกิจกรรมการแรเงาช่องสี่เหลี่ยมนั้น ทำให้ได้ความรู้ว่า โจทย์ 1 โจทย์ เราสามารถคิดได้หลากหลายรูปแบบ แตกแขนงได้มากมาย และสังเกตได้ว่าเพื่อนแต่ละคนนั้น มีจำนวนการแรเงาที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเหมือนกับการจัดการเรียนการสอนให้เด็ก เด็กย่อมมีความแตกต่างระหว่างบุคคล ครูต้องเรียนรู้และจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก
- จากวิดีโอ โทรทัศน์ครู การสอนแบบ Project Approach นั้น ทำให้ความรู้จากผู้มีประสบการณ์และได้เห็นวิธีการจัดการเรียนการสอนว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการคิดจากโจทย์ปัญหา
- ทักษะการคิดสร้างสรรค์ หรือการคิดแตกแขนง
- ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
การนำมาประยุกต์ใช้
- จากกิจกรรมวันนี้ ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ คิดอย่างหลากหลายรูปแบบ ซึ่งฝึกให้เรารู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์นั้นๆ ได้
- สามารถนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
- สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมต่างๆได้
บรรยากาศในห้องเรียน
- การสอนของอาจารย์จะเน้นกระบวนการคิดและการวิเคราะห์พร้อมให้นักศึกษาตอบคำถามและมีการตั้งคำถามปลายเปิด สามารถให้นักศึกษาตอบคำถามของอาจารย์ได้หลายคน ทำให้มีการคิดที่แตกต่างกันออกไปและคำตอบของแต่ละคนจะไม่มีผิดหรือถูกอาจารย์จะคอยเพิ่มเสริมให้อยู่ตลอดเวลา
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อน
- มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์
- แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน
วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
การบันทึกครั้งที่ 4 / วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ
- วันนี้เริ่มการเรียนการสอนโดยการอาจารย์แจกป้ายชื่อให้คนละ 1 ใบ เขียนชื่อตัวเอง แล้วไปติดบนกระดาน โดยที่บนกระดานอาจารย์วาดตาราง เวลาการตื่นนอน จะมี 3 ช่อง คือช่องแรก คนที่ตื่นก่อน 7:00 ช่องที่ 2 ตื่นนอนเวลา 07:00 ช่องที่ 3 ตื่นนอนหลัง 07:00
- ซึ่งกิจกรรมจากตารางข้างต้นใช้ไม่ได้กับเด็กปฐมวัย เพราะยากเกินไป เด็กยังดูนาฬิกาไม่เป็น จะปรับปรุงโดยการ ให้เด็กจดบันทึกก่อน หรืออาจจะให้พ่อแม่จดบันทึกมาให้ตั้งแต่บ้าน แล้วนำมาติด เพราะการเรียบนการสอนไม่ใช่จัดอยู่แค่ในห้องเรียน หรือ ไม่ใช่แค่ครูที่โรงเรียนจัด ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครองด้วยเช่นกัน เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
- กิจกรรมต่อมาอาจารย์เขียนตัวเลขไว้บน กระดานโดยมาตัวเลขดังนี้
3525 11 155 350
แล้วให้นักศึกษาทายว่าตัวเลขที่นักศึกษาเห็นเกี่ยวข้องหรือสำคัญกับอาจารย์อย่างไร ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาออกไปเขียนตัวเลขที่สำคัญ 1 คน ซึ่งได้แก่ นางสาวกมลชนก ทองสารไตร
20 37 138 3204
แล้วให้เพื่อนๆทายว่า ตัวเลขข้างต้นเกี่ยวข้องหรือสำคัญอย่างไร ซึ่งแต่ละตัวเลขมีความสำคัญดังนี้
20 = จำนวนเพื่อนในห้อง
37 = คือตัวเลขที่เป็นสิริมงคล
138 = เลขทะเบียนบ้าน
3204 = เลขห้องพัก
- จากกิจกรรมข้างต้นคือ ตัวเลขล้วนแต่อยู่ในชีวิตประจำวันของเราที่พบเห็นกับบ่อยๆ
- กิจกรรมต่อมา อาจารย์เอาสื่อออกมาให้ดู 1 ชิ้น พร้อมถามว่าสื่อที่อาจารย์นำมาในวันนี้เหมาะสมหรือควรแก้ไขในส่วนไหนบ้าง เช่น สีที่ไม่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เพราะว่า เป็นสีสะท้อนแสงและอุปกรณ์ที่ใช้ไม่แข็งแรง ใช้งานได้ไม่ยาวนานนัก
- สิ่งที่เด็กได้รับจากสื่อชิ้นนี้คือ เด็กมีประสบการณ์จากตัวเลขและเด็กได้เอาตัวเลขไปแปะบนสื่อ ได้รู้จักสีประจำวัน เช่น วันนี้สีอะไร 3 วันที่ผ่านมาคือวันอะไร วันแรกของสัปดาห์คือวันอะไร
- เกมส์การศึกษามีทั้งหมด 8 ประเภท
1.จับคู่
2.ภาพตัดต่อ
3.วางภาพต่อปลาย
4.การเรียงลำดับ
5.จัดหมวดหมู่
6.เกมศึกษารายละเอียดภาพ
7.พื้นฐานการบวก
8.เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์
- กิจกรรมหลักมีทั้งหมด 6 กิจกรรม
1.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
2.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
3.กิจกรรมเสรี
4.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
5.กิจกรรมกลางแจ้ง
6.เกมการศึกษา
- ต่อมาอาจารย์ให้เพื่อนๆ ออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
1.นางสาววนิดา สาเมาะ นำเสนอ วิจัย "การพัฒนาความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทย"
2.นางสาวปรีชญา ชื่นแย้ม นำเสนอ "ตัวอย่างการสอน VDO "ตัวเลขกับเด็กปฐมวัย"
3.นางสาวเรณุกา บุญประเสริฐ นำเสนอ วิจัย "ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม"
4.นางสาว หทัยชนก นำเสนอ บทความ "สอนคณิตศาสตร์อย่างไรให้สนุก"
- ต่อมาอาจารย์บรรยายหัวข้อ " สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย"เพิ่มเติมจากอาทิตที่แล้ว โดยมีทั้งหมด 6 สาระ ดังนี้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 : การวัด
สาระที่ 3 : เรขาคณิต มาตรฐาน
สาระที่ 4 : พีชคณิต
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
สาระที่ 2 : การวัด
สาระที่ 3 : เรขาคณิต มาตรฐาน
สาระที่ 4 : พีชคณิต
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
- และสุดท้ายอาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำสเนอของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการคิด
- ทักษะการวิเคราะห์
- ทักษะการนับ
- ทักษะการจัดหมวดหมู่
การนำมาประยุกต์ใช้
- สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
- สามารถนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
- สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมต่างๆได้
- สามารถเลือกสื่อที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
บรรยากาศในห้องเรียน
- การสอนของอาจารย์จะเน้นกระบวนการคิดและการวิเคราะห์พร้อมให้นักศึกษาตอบคำถามและมีการตั้งคำถามปลายเปิด สามารถให้นักศึกษาตอบคำถามของอาจารย์ได้หลายคน ทำให้มีการคิดที่แตกต่างกันออกไปและคำตอบของแต่ละคนจะไม่มีผิดหรือถูกอาจารย์จะคอยเพิ่มเสริมให้อยู่ตลอดเวลา
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อน
- มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์
วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ของเล่นไม้ หนอนน้อยนับเลข 1-10
- สอนเรื่องจำนวนนับ เรื่องสี และการเรียงลำดับความคิด ตัวหนอนไม้จะประกอบด้วยชิ้นส่วนสีต่างๆ และมีตัวเลขกำกับเรียงจากเลข 1-10 สามารถถอดออกจากแกนกลาง เพื่อให้เด็กสามารถเล่นและเรียงลำดับตัวเลขให้กลับเข้าที่เดิมได้อย่างถูกต้อง ชิ้นส่วนตัวเลขแต่ละตัวจะมีส่วนไม้ยื่นออกมาด้านหน้า และเป็นส่วนรูด้านหลังซึ่งเวลาเรียงเข้าตามลำดับเพื่อประกอบร่าง จะต้องใส่ให้ตรงกันพอดี เด็กๆ จะได้เรียนรู้เรื่องการใช้กล้ามเนื้อมือและสายตา ในการจับประกบกัน การเรียงลำดับเลขจากมากไปหาน้อยหรือจากน้อยไปหามาก
- การให้เด็กๆ ได้ฝึกฝนด้วยตนเองทำให้เด็กสนุกสนานเพิ่มขึ้นกับสีสันที่สวยงามของเจ้าหนอนแต่ละส่วน ได้เรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เสริมสร้างพัฒนาการทั้ง 4 ด้านและฝึกสมาธิได้ดี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)